การโฆษณา |
น้ำอัดลมประเภท Cola ได้ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกขึ้นในปี 1886 เริ่มโดยนักเภสัชศาสตร์ได้ทำการขายเครื่องดื่มโซดาแบบแก้วในร้านขายยา และสูตรเครื่องดื่มนี้ได้เป็นที่นิยม และเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้ชื่อ Coke จนกระทั่ง Coke ได้มีการขายแฟรนไชส์ โดยที่ Coke นั้นได้พยายามที่จะทำให้สินค้ามีอยู่ในทุกที่ ลูกค้าสามารถหาซื้อได้ตามสะดวก รวมทั้ง Coke ก็ได้มีการปรับตัวไปตามสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ในตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในสหรัฐอเมริกา ช่วงทศวรรษที่ 1990 ตลาด Cola ยังครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่ 1 คือ 60% - 70% นอกเหนือจาก น้ำมะนาว รูทเบียร์ น้ำส้ม และอื่น ๆ ส่วนประกอบของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักได้แก่ ![]() ![]() 1. ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวาน เป็นผู้ทำหน้าที่นำวัตถุดิบมาผสมกัน (ยกเว้นสารให้ความหวาน) และส่งไปยังผู้บรรจุขวด การลงทุนในสินทรัพย์ของผู้ผลิตไม่มากนัก แต่จะต้องลงทุนสูงในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การวางแผนการผลิต การทำวิจัยทางการตลาด กิจกรรมทางการตลาดกับผู้บริโภค การทำเครื่องหมายการค้า รวมถึงการพัฒนาความสามารถของผู้บรรจุขวด 2. ผู้บรรจุขวด จะมีสัญญากับทางผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวานในการทำการเติมสารให้ความหวานและบรรจุขวด พร้อมทั้งส่งไปยังร้านจำหน่าย เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงดูแลการจัดวางสินค้า การโฆษณา ณ จุดขาย การจัด Layout ในการลงทุนของผู้บรรจุขวด ส่วนใหญ่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรมากที่สุด ในเริ่มแรกการทำสัญญากันระหว่างผู้ปลิตหัวเชื้อน้ำหวานและผู้บรรจุขวดจะทำในลักษณะแฟรนไชน์ 3. ร้านค้า ในปี 2000 ช่องทางการจัดจำหน่ายของน้ำอัดลมในสหรัฐอเมริกาจะผ่านทางร้านอาหาร 35% ผ่านทางที่จำหน่ายน้ำอัดลมแบบกด (Fountain Outlet) 23% ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ 14% ร้านสะดวกซื้อ 9% และอื่นๆ อีก 20% ได้แก่ ร้านที่เป็นแบบคลังสินค้าแบบสมาชิกร้านขายยา ต้นทุนมีผลมากจากวิธีการและความถี่ในการส่ง 4. ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบให้กับหัวเชื้อน้ำหวานและผู้บรรจุขวด วัตถุดิบที่จำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวาน ได้แก่ สีคาราเมล กรดฟอสฟอริก กรดผลไม้ สารปรุงรสจากธรรมชาติ และคาเฟอีน ส่วนวัตถุดิบที่จำหน่ายให้แก่ผู้บรรจุขวด ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ ประเภท กระป๋อง ขวดพลาสติก ขวดแก้ว และสารให้ความหวาน ประเภทน้ำตาล และฟรุคโตส Cola Wars Heat Up ในปี 1980 โค้กได้เปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลอ้อยมาเป็นน้ำตาลฟรุคโตส ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลในราคาที่ต่ำ โค้กได้มีความพยายามทำการตลาดให้รุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยการทุ่มเงินลงทุนในโฆษณาจำนวนสูง และโค้กก็ได้พยายามขยายกิจการไปยังตลาดเครื่องดื่ม non - CSD และต่อมา โค้กก็ได้ขยายแบรนด์ด้วยการออก "Coke Diet" ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสูตรของโค้กกลับไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีจากตลาด ทำให้โค้กต้องกลับมาใช้สูตรเครื่องดื่มเดิมเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ![]() Bottler consolidation and spin-off โค้กเริ่มซื้อกิจการ Bottler มาเป็นของตนเอง และได้ก่อตั้ง Coca Cola Enterprises (CCE) ซึ่งเป็นบริษัท Bottler ที่อยู่ในเครือของ โค้ก เอง ซึ่งการทำแบบนี้เป็นผลดีเพราะสามารถบริการจัดการด้าน Bottler และผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อมาถึงช่วงปี 2000 นั้น ยอดขายได้ลดลง นั่นทำให้การลงทุนใน Bottler กลายเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า เพราะลงทุนสูง แต่กำไรน้อยลง ![]() Internationalizing the cola war Coke มองตลาดต่างประเทศมากขึ้นเพื่อการเติบโต ปี1991-2000 ได้บุกตลาด จีน อินเดียยุโรปตะวันตกแต่ตลาดต่างประเทศเหล่านี้ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐ ซึ่ง coke มีสัดส่วนทางยุโรปตะวันตก ละตินอเมริกา และ โค้กยังได้ชื่อที่เป็นสากลสำหรับวัฒนธรรมของชาวอเมริกันซึ่ง Concentrate producer ของทั้งโค้กได้ประสบอุปสรรคมากมายในตลาดต่างประเทศทั้งวัฒนธรรมต่างๆ การเมือง กฏระเบียบ การควบคุมราคา การโฆษณา อัตราแลกเปลี่ยน และโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่ง Coke ได้ริเริ่มแนวกลยุทธ์ต่างๆเพื่อการเข้าถึง แต่ในปลายทศวรรษ 90 นั้นตลาดต่างประเทศก็มียอดขายตกต่ำลงเช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ซึ่งก็ทำให้กำไรลดต่ำลง แต่โค้กได้รับผลกระทบมากเพราะมีสัดส่วนตลาดต่างประเทศมากกว่า กลยุทธ์ที่ใช้ในปัจจุบัน 1. "Coke" ได้ทำการวางน้ำอัดลมบริเวณด้านหน้าซุปเปอร์มาเก็ตเพื่อดึงดูดลูกค้าและให้เทางซุเปอร์มาเก็ตบริหารการขนส่งสินค้าไปที่หน้าร้านรวมถึงปริมาณการเก็บสินค้า 2. "Coke" ให้ส่วนลดกลับไปยังผู้ซื้อเช่นร้านเฟรนไชน์ของ Burger King เชื่อว่าได้จ่ายค่าหัวเชื้อน้ำหวานให้กับ "Coke" ในราคาโดยประมาณคือ 6.2 เหรียญฯต่อแกลลอน แต่ตอนสิ้นปีก็ได้รับส่วนลด (rebate) อย่างมากเป็นเช็คเงินสด อย่างเช่นร้าน Burger King สาขาในภาคกลางของฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯแห่งหนึ่งกล่าวว่าได้รับส่วนลดประจำปีถึง 1.45 เหรียญฯ ต่อแกลลอนหรือประมาณ 23%. 3. การลงทุนทางด้านโฆษณารวมทั้งอุปกรณ์ส่งเสริมการขายของน้ำอัดลม ณ.จุดขาย 4. "Coke" หาลูกค้ากลุ่มอื่นๆ โดยใช้ช่องทางจัดจำหน่ายใหม่ เช่น ร้าน McDonald's และ Burger King 5. "Coke" บริหารจัดการลูกค้าเครื่องกดน้ำโดยใช้ เฟรนไชน์ระดับชาติของตัวเอง ผู้ซื้อเฟรนไชน์จะทำการต่อรองและทำข้อตกลงในเรื่องสิทธิขายน้ำจากเครื่องกดซึ่งในบางกรณีกับร้านเครือข่ายขนาดใหญ่ 7. "Coke" ใช้การจูงใจโดยให้ส่วนลดแก่บริษัทบรรจุขวดเพื่อให้บริษัทเหล่านี้ทำการติดตั้งตู้จ่ายน้ำอัตโนมัติ เจ้าของพื้นที่ที่ให้ทำการวางตู้จ่ายน้ำอัตโนมัติปกติก็จะได้รับค่าคอมฯ 8. "Coke" ใช้กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับบริษัทขายส่งวัตถุดิบของบริษัทที่มีกับบริษัทผลิตกระป๋อง "Coke" ช่วยบริษัทบรรจุขวดในการต่อรองกับบริษัทผลิตกระป๋อง เนื่องจากต้นทุนของกระป๋องมีมูลค่าประมาณ 40% ของต้นทุนทั้งหมดของสินค้าบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุขวดและบริษัทผลิตหัวเชื้อน้ำหวานจะรักษาความสัมพันธ์กับบริษัทขายส่งวัตถุดิบนี้มากกว่าหนึ่งเจ้า ![]() ![]() SWOT Analysis Strength - Coke เป็นผู้ที่เข้ามาเปิดตลาดเป็นรายแรกทำเป็นที่สนใจและดึงดูดใจของผู้บริโภคซึ่งสร้างความรู้สึกให้กับตัว ผลิตภัณฑ์ว่า เป็น ของแท้ - เป็น Global Brand ที่สั่งสมความน่าเชื่อถือมายาวนาน -มี Positioning ที่ชัดเจนทำให้ผู้บริโภคจดจำ Brand ได้อย่างแม่นยำ ไม่สับสนกับ Brand อื่น -เป็น Brand ที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งเกิดจากการรับรู้ของผู้บริโภค ทำให้คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบ และทำการแข่งขันได้อยาก - เป็นผู้นำทางการตลาดมีสัดส่วนในการครองตลาดน้ำดื่ม CSD สูง ( Market share leadership) - Brand Perception มียี่ห้อที่เป็นที่จดจำและอยู่ในใจของผู้บริโภคย่อมแสดงถึงความสามารถในการ เข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ - การที่ Coke เข้ามาในระยะเวลาที่ยาวนานและสามารถครองตลาดได้เป็นอย่างดีและต่อเนื่องนั้นทำ ให้ Coke สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจได้ดี ส่งผลให้มีอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้าและธุรกิจที่ เกี่ยวข้องได้มาก - Coke เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เนื่องจากการเปิดตลาดออกไปอย่างแพร่หลาย - มีการตลาดที่ดี เช่น การทำ promotion ในช่วงเวลาต่างๆอย่างเหมาะสม การวางแผนการตลาดด้าน ต่างๆรวมถึง Advertisement ด้วย - เป็นผู้นำตลาดทางด้าน fountain market เนื่องจาก Coke เริ่มบุกตลาดทางด้านนี้ก่อน brand อื่นๆ เช่น ในปี 2000 Coke มีสัดส่วนตลาดนี้ถึง 65% - เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฐานการผลิตกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก - เป็น Brand ที่ผู้บริโภคมี Loyalty สูง เนื่องจากไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ของตนเองเท่านั้นยังสามารถทำให้ผู้บริโภคมีความรักกับ Brand ได้อีกด้วย -โค้กใช้ กลยุทธ์ Emotional Marketing และ Lifestyle "มีทัศนคติด้านบวกและมองโลกในแง่ดี" หรือ "ดื่มโค้กแล้วทำให้มีความสุข" จาก แคมเปญ Coke Slide of Life เป็นแคมเปญ ที่เน้นกันที่ Emotional ล้วนๆ เพื่อต้องการสร้างความรู้สึกขึ้นในใจของให้ผู้บริโภค และใช้อารมณ์ความรู้สึกในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มีความสร้างสรรค์และตรงใจผุ้บริโภคเป็นอย่างมาก Weakness - การที่ Coke จะเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้นย่อมเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก Coke เป็นที่รู้จักของ ผู้บริโภคในด้านน้ำดื่มโคล่า ซึ่งการที่จะขยายไปในด้านอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากที่ผู้บริโภคจะให้ความสนใจและเชื่อถือ ซึ่งถ้าขยายความกว้างของผลิตภัณฑ์มากไปจะทำให้สินค้าโคล่านี้อ่อนกำลังไปด้วย-มีความเป็นนักอนุรักษ์(Conservative ทำให้การปรับตัวของบริษัทไม่ทันกับคู่แข่งรายอื่นๆ- มีสายการผลิตที่กว้างมากจนยากที่จะควบคุมการผลิต- โค้กมักถูกมองว่าไม่มี Innovation จะเห็นได้จาก Line สินค้าที่มีให้เลือกไม่มากนัก และยังถือว่าน้อยกว้าคู่แข่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคหันไปทดลองสินค้าอื่นที่มีความแปลกใหม่ได้ง่าย-เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย - ความสามารถในการขยายผลิตภัณฑ์มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับ line สินค้าเดิมเป็นเรื่องที่ยาก และอาจทำให้ภาพ ความ Classic อ่อนลง Oppornity - ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ - การสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น - ลักษณะของสินค้า เนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องดื่มโคล่านั้นมีจุดต่างจากเครื่องดื่มอื่นซึ่ง ผู้บริโภคเชื่อว่าดื่มแล้วช่วยสร้างความสดชื่นซึ่งเป็นเสมือนจุดขายของสินค้านี้ - เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีย่อมพัฒนาขึ้นอย่างมากช่วยในด้านการผลิต การโฆษณาช่วยให้ผู้บริโภครู้จักได้มากขึ้น การกระจายสินค้า เป็นต้น - การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคมีมากขึ้นเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค ซึ่งก็เนื่องมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้วย Treat- มีสินค้าตัวแทน เนื่องจากตลาดเครื่องดื่มนี้มีการขยายออกอย่างแพร่หลายทำให้ผู้บริโภคมี ทางเลือกมากขึ้นกว่าในอดีต - ราคาของวัตถุดิบผันผวน เช่น ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นย่อมทำให้ส่งผลต่อราคาต่อหน่วยของสินค้าด้วย หากราคาสูงขึ้น ความต้องการย่อมลดลง-เป็บซี่ใช้กลยุทธ์ In&Out คือ การสร้างโปรดักต์ ใหม่ๆ บนฐานของน้ำดำ เพื่อสร้างสีสันให้ตลาดมีทั้งเป๊ปซี่แม็กซ์, เป๊ปซี่ทวิสต์, เป๊ปซี่บลู, เป๊ปซี่ไฟร์, เป๊ปซี่ไอซ์ และเป๊ปซี่ลาเต้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดทางเลือกที่มากขึ้นและมีความรู้สึกถึงความแปลกใหม่และอาจให้ความสนใจ และทดลองบริโภค จนอาจเกิดการ Switching Brand ได้ - ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เมื่อเศรษฐกิจแย่ลงย่อมมีผลต่อการบริโภคของประชาชนซึ่งจะบริโภคอย่างจำกัดมากขึ้น - การแข่งขันที่รุนแรง ทั้งตลาดเดิมและเครื่องดื่มใหม่ๆที่พยายามเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้การจะครองส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากนั้นยากขึ้น - ค่านิยมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง คือให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคเครื่องดื่มโคล่าลง เนื่องจากไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และให้ความสนใจกับสินค้าที่ให้ผลดีกับสุขภาพมากขึ้น - การแพร่ของข่าวความผิดพลาดในการผลิต ทำให้เกิดความเสียหายกับตราสินค้า ผุ้บริโภคอาจม่ายเชื่อถือและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้ - จากผลสำรวจ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบรสชาติของเป๊ปซี่มากกว่า 4P Analysis Product CocaCola มีการพัฒนาสินค้าของตัวเองมาโดยตลอด เริ่มจากการที่ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอันเนื่องมาจากการเริ่มเข้ามาทำตลาดของ Pepsi และเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 CocaCola มองว่าตลาดน้ำดำอาจถึงจุดอิ่มตัว จึงสรรหาวิธีต่างๆมาแก้ปัญหาโดย 1 ในนั้นคือการแตก Product Line ทำให้เกิด CocaCola รสชาติใหม่ๆขึ้นมาเพื่อให้เกิดจุดสนใจ และสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆขึ้นไปได้ รวมไปถึงการพัฒนา Package ออกไปจากแบบ ฝาจีบ ไปแบบ กระป๋อง และแบบฝาเกลียวเพื่ออรรถประโยชน์ที่แตกต่างรวมไปถึงความสะดวกในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป้นการสร้างความแปลกใหม่ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา รวมไปถึงการมีรูปแบบสินค้าที่มากขึ้นก็เป็นการเปิดช่องทางให้ผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิมซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนทางอ้อม Price CocaCola ประสบปัญหาอเมริกาเศรษฐกิจฝืดเคืองจากยุคสมัยสงครามโลกทำให้ต้องดิ้นรนและเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตนเองซึ่งข้อสรุปที่ออกมาคือการสร้างภาพว่าเป็นของฟุ่มเฟือยที่มีกำลังซื้อ จาก Print Ad. ที่นำซานตาครอสมาใช้เป็นครั้งแรกเพื่อรักษายอดขายและเก็บรักษาภาพพจน์ของ Brand ที่มีความหรูหรา เอาไว้ส่งผลมาจนถึงปัจจุบันที่ CocaCola Brand ยังคงสามารถรักษาภาพพจน์ที่ดูดีและหรูหราเอาไว้พร้อมๆกับราคาที่ไม่ทำร้ายจิตใจผู้บริโภคมากนัก Place Cocala มีลักษณะการวางแผนธุรกิจโดยการโยนภาระขั้นตอนการบรรจุขวดและการจัดจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายอื่นในลักษณะการขาย Franchise ขอบเขตที่ดูแลจริงๆมีเพียงการวางแผนธุรกิจและการผลิตหัวเชื้อด้วยสูตรลับเพื่อส่งต่อไปยัง Bottler ที่ต่างๆดังนั้นการตกลงธุรกรรมกับ Distributor และการวางแผนต่างๆโดยส่วนใหญ่จึงเป็นหน้าที่ของทั้ง CocaCola เช่นการตกลงกับ Whole Seller ที่เป้นระดับสากลอย่าง Careful หรือ โลตัส, การตกลงสัญญากับ Distributor ต่างๆที่สามารถมีผลประโยชน์ร่วมกันได้อย่าง Mcdonald หรือ Burger King ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อการสร้างการรับรู้และเกิดช่องทางจำหน่ายอันมากมายที่จะนำไปสู่ผู้บริโภคประกอบกับการเป็นสินค้าประเภท Daily Goods ที่มีราคาไม่แพง และภาพลักษณ์ของ Brand ที่สร้างมาอย่างดีก็ช่วยเสริมความสะดวกในการติดต่อและจำหน่ายสินค้าของตัวเองไปยัง Distributor รายย่อยตามซอกมุมต่างๆทั่วโลก Promotion เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่และเพิ่มให้มากขึ้นไปอีกการสร้างแผนส่งเสริมการขายจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการชักจูงความสนใจจากผู้บริโภคอยู่สม่ำเสมอ CocaCola จึงมีการออก Promotion ต่างๆที่เป็นการตั้งเป้าทั้งต่อผู้ Consumer และ Trader อย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างการโฆษณาโค้ก ![]() ป้ายโฆษณา อ้างอิง http://coke-world.exteen.com/ |
supawadee
วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554
หลักการโฆษณาทางการตลาด
วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)